หลักการจัดการเรียนการสอนโดยไม่มีครู

หลักการจัดการเรียนการสอนโดยไม่มีครู (Instruction without Teacher)ทิศนา แขมมณี. (2554:หน้า149-153)
            เป็นการนำโปรแกรมสำเร็จรูปเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนหรือที่เรียกว่า “Programmed Instruction” เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีเข้าเกี่ยวข้อง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ทำให้การศึกษาพัฒนาไปอย่างมาก โดยที่ผู้เรียนสารถเรียนได้ทุกเวลา ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และสามารถดูข้อมูลเหล่าซ้ำ ๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตามครูยังคงมีบทบาทอื่น ๆ เช่น บทบาทในการวางแผนการเรียน การติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียน และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น
     1.  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Programmed Instruction) หลักการ มีการนำเนื้อหาที่จะเรียนมาวิเคราะห์ จากนั้นเรียงลำดับเพื่อจะนำไปเสนอโดยเรียงตามลำดับไม่มีการข้ามขั้น ผู้เรียนสามารถเข้ามาเรียนได้ตลอดเวลา โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา และผู้เรียนสามารถตรวจสอบผลของการเรียนของตนได้ นิยาม การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการเรียนจะมีการใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนตอบสนองการเรียนรู้ได้ ตัวบ่งชี้ ผู้สอนมีการจัดเนื้อสาระตรงตามความต้องการของผู้เรียนได้ มีการนำเสนอเนื้อเป็นขั้นตอนและประหยัดเวลา
   2. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer – Assisted Instruction) หรือ CAI 
หลักการ การนำเทคโนโลยีเข้ามาสอนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มีประโยชน์ต่อผู้เรียนและผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ นิยาม การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสอนเป็นการขยายขอบเขต เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายและมีรูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอมีความหลากหลาย ตัวบ่งชี้ ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด และสามารถตรวจสอบผลการเรียนได้
  3.การจัดการเรียนการสอนทางไกล (Distance Instruction) 
หลักการ การเรียนการสอนทางไกลผู้เรียนสามารถเรียนผ่านสื่อโทรคมนาคม โดยผู้สอนถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อมวลชนเปรียบเสมือนการเรียนปกติ นิยาม ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ต่างสถานที่แต่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กันและกันได้ โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เทปบันทึกเสียง เป็นต้น ตัวบ่งชี้ ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนได้โดยอยู่ต่างสถานที่กัน
  4. การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ (Web - Based Instruction)
หลักการ เป็นการเรียนรู้ผ่านเวิลด์ ไวด์ เว็บผ่านคอมพิวเตอร์ โดยที่ผู้เรียนสามารถได้ทุกเวลา สถานที่และง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล นิยาม การเรียนผ่านเวิลด์ ไวด์ เว็บ เปรียบเสมือนห้องเรียนเสมือนที่ผู้เรียนและผู้สอนมีการติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ ตัวบ่งชี้ ผู้สอนมีการออกแบบห้องเรียนมีการปฐมนิเทศ เพื่อให้เหมือนจริง ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถทำแบบทดสอบตรวจผลการเรียนได้ด้วยตนเอง
              เอกสารอ้างอิง  
           ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. หน้า149-153.