หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง

หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Direct Instruction)ทิศนา แขมมณี. (2554:หน้า109-118)การจัดการเรียนการสอนทางตรงแบบใช้ผลการวิจัย มีองค์ประกอบสำคัญ 6ประการ



1.ครูเป็นศูนย์กลาง (teacher centrality) ครูคอยควบคุมกำกับทิศทางของการเรียนการสอน
2.เป้าหมาย (task orientation) เน้นการเรียนวิชาการ หรือเนื้อหาสาระ เป็นข้อมูลความรู้และข้อเท็จจริง
3.ความคาดหวังในทางบวก(positive expectation)ผู้สอนมีการคาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะประสบผลสำเร็จในการเรียน
4.ความร่วมมือของผู้เรียนที่สามารถวัดประเมินได้(student cooperation and accountability)
5.บรรยากาศที่ปลอดภัย(nonegative affect)ผู้เรียนอยู่ในบรรยากาศที่เป็นมิตร เป็นกันเอง
6.มีกฎ ระเบียบ(esteblished structure)ผู้สอนคอยติดตามดูแลการปฎิบัติของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด
การจัดการเรียนการสอนทางตรงแบบใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ มี 2 รูปแบบดังนี้
1.รูปแบบ “The Mastery Teaching Program”เป็นการสอนเพื่อการรู้จริง ที่พัฒนาโดยฮันเตอร์(Hunter) ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญดังนี้
(1.)ขั้นเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
(2.)ขั้นการให้ข้อมูลและการแสดงตัวแบบ
(3.)ขั้นตรวจสอบความเข้าใจและให้คำแนะนำ
(4.)ขั้นให้ผู้เรียนปฎิบัติตามคำแนะนำ
2.รูปแบบ“DISTAR”หรือ ระบบการสอนทางตรงเพื่อการเรียนรู้และการสอน พัฒนาโดย บีไรเทอร์-อิงเกิลแมน(Bereiter-Englemann)โปรแกรมนี้ได้รับการจัดโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเสียส่วนใหญ่ มีโครงสร้างที่รัดกุมและรายละเอียดที่ชัดเจน ผู้สอนจะต้องดำเนินการทุกอย่างตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ หากทำตามสิ่งที่กำหนดไว้ในโปรแกรมจะประสบความสำเร็จในการสอน

  เอกสารอ้างอิง 
 ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. หน้า109-118.